วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฎพื้นฐานแอนนิเมชั่น


พื้นฐานของบทเรียนสำหรับ Animationหลังจากที่เรา เข้าใจหลักการของธรรมชาติของการเคลื่อนไหวในการทำ Animation จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้หลักการ ที่เป็นพื้นฐานเพราะการทำ Animation ส่วนใหญ่มักเจอ โจทย์ที่เป็นพื้นฐานทั้งนั้น จึงต้องบังคับให้รู้ถึงถึงผู้ที่จะ ทำงาน Animation และถ้าเป็น หลักสูตรการเรียนการสอนของต่างประเทศ ที่เป็นเรื่องราวจะมีพื้นฐานทั้งหมดโดยแยกออกเป็น กฎอยู่ 8 กฎ ดังต่อไปนี้




เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับกฎของพื้นฐานการกระดอน,กระเด้ง,กระโดด,สปริง ฯลฯ โดยต้องเข้าใจคุณสมบัติของวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่มีแรงจูงใจในการผลักดันออกไป และความต้องการที่จะให้เกิดผลนั้นๆดังตัวอย่างดังนี้
กฎของการกระดอนในเรื่อง Show in,out นั้นจะสังเกตว่าจะมีแรงโน้มถ่วงที่ไวก่อนถึงพื้นและให้รู้สึกว่าได้สัมผัสกับพื้นที่แนบติด โดยให้วัตถุหรือสิ่งนั้นมีการกดลง
กับพื้นและขยายตัวออกโดยที่ปริมาตรยังคงเดิม และเวลาพุ่งออกไป จะลอยออกจากพื้นทันทีโดยที่ปริมาตรเป็นทรงที่ยื่น
ออกไป กฎนี้จะประยุกต์ใช้กับการกระโดดของคน สัตว์ สิ่งของ
การสะบัด เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับกฎของการสะบัด ที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นของเรื่อง Show in,out เพราะจะมีเรื่อง Delay มาเกี่ยวข้องDelay คือ การชะลอการเหวี่ยงที่มีแรงผลัก แรงโน้มถ่วง แรงต้าน แม้แต่อารมณ์ใน การแสดงซึ่งจะ ทำให้วัตถุหรือร่างกายนั้น มีการล่าช้าหลังหรือก่อนกันนั่นเอง กฎของ Wave นั้น จะประยุกต์ใช้กับการสะบัดทั้งหมด ตั้งแต่แส่, ต้นหญ้าไหวไปมา ผ้าสะบัด , ผมต้องลม,ปีกนก, แม้แต่ การเหวี่ยงแขน และอีกมากมายที่ต้องมีการเคลื่อนไหวไปกลับอย่างรวดเร็ว การสะบัด จะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆที่ควรศึกษา และนำไปปรับใช้กับการแสดงต่างๆมากมาย เช่น การโปกปีกของสัตว์ หางสัตว์ต่าง, การสะบัดแส่และการโบกไปกลับทุกอย่าง เป็นต้น



แน่นอนที่สุด ถ้าเราทำหนังสักเรื่องตัวละครเราต้องมีบทเดิน จึงจำเป็นอย่างมากที่เราตองศึกษาวิธีการเดินของคน ซึ่งมีแต่ลักษณะต่างกันไปตาม คุณสมบัติเช่น คนหนุ่ม คนแก่ และเด็กเป็นต้น ซึ่งจังหวะและเวลาการเดินจะไม่เท่ากัน ในที่นี้จะเป็นแนวทางและหลักง่ายๆเพื่อให้เข้าใจก่อนในจังหวะย่างก้าวโดยปกติ คนปกติที่แรงทั่วไป การก้าว 1 ก้าว จะอยู่ที่ 12-13 รูป ถ้า 2 ก้าว ก็ 24-26 รูป ในระบบ 25 F/1 sec เพราะฉะนั้นการเดินไป 1 ก้าว ก็ใช้เวลา 1/2 วินาทีและ 2 ก้าวก็ประมาณ 1 วินาที การวิ่ง (Run) ลักษณะการวิ่งจะมีภาพน้อยกว่าการเดินเพราะจะต้องใช้ความไวในการก้าวจึงมีเพียง 7 รูปเท่านั้น ต่อ 1 ก้าวและให้ใช้เป็น on1




การยกสิ่งที่ให้รู้สึกว่าหนักนั้น ก่อนยกขึ้นให้ร่างกายพร้อมศีรษะยกขึ้นไปก่อนที่จะยกตัวและลุกขึ้น และก่อนยกช่วงขาจะชิดใกล้วัตถุ จึงมีกำลังยกขึ้น การยกของหนักจะต้องเดินไปด้วยลักษณะการก้าวเดินเป็น Slow in Fast คือขาต้องรีบก้าวเพื่อไม่ให้การแบกน้ำหนักต้องถ่วง อีกข้างหนึ่งช้าเกินไปนั่นเอง การลาก หรือดึงของที่มีน้ำหนักก็จะคล้ายกัน ของหนักจะไปทีละนิดเพราะเราต้องส่งพลังทั้งหมดดึงเข้าหาตัวเองอย่างว่องไว










The Take ตัวอย่าง Take ที่มีทั้ง on 2 และ on 1 ซึ่งสามารถปรับตามจังหวะของการสะดุ้งแล้วแต่เหตุการณในการแสดงนั้นๆ แต่หลักของ Take ที่เป็น key ใ
หญ่ๆมีอยู่ 4 key คือ มองเห็น หลับตากลัว ตกใจ หรือ สะดุ้ง ผ่านพ้นไปลักษณะของการสะดุ้งนั้นถ้าจะให้มีความน่าสนใจกว่าปกติควรให้อิริยาบถแตกต่างในช่วงจังหวะสะดุ้งขึ้น และตอนสะดุ้ง ลงจะสร้างความรู้สึกและอารมณ์ได้มาก และสนุกตลกไม่ซ้ำซากหรือจำเจ



การขยับปากจะมีท่าหลักๆอยู่ไม่กี่ท่า ในแต่ละท่าของปากบางคำจะเหมือนกันและนำรูปของปากมาใช้ซ้ำกันได้ ทั้งนี้ต้องดูว่ามุมมองอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกันหรือไม่เท่านั้น ในภาษาอังกฤษจะง่ายต่อการขยับปากเทียบกับภาษาอื่นแล้วที่การขยับปากจะยากมาก เช่น ภาษาจีน ภาษาอินเดีย หรือภาษาที่ต้องผันลิ้นมากๆเป็นต้น ในภาษาไทยเราก็ไม่ยากเท่าไหร่

ก่
อนที่เราจะวาดภาพการเคลื่อนไหวของสัตว์ เราควรต้องรู้โครงสร้างของสัตว์ที่เราจะวาดเสียก่อน ในที่นี้จะกล่าวถึงสัตว์ 4 เท้า ที่เห็นความชัดเจนที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ1. แบบมีกีบ เช่น ม้า, กวาง ฯลฯ 2. แบบอุ้งเท้าที่มีเล็บ เช่น แมว, เสือ ฯลฯ การศึกษาการวาดภาพสัตว์ที่ดี นอกจากดูภาพแล้วควรหาโอกาสไปดูของจริงตัวเป็นๆที่สวนสัตว์ จะรู้ถึงความรู้สึกในการวาดสัตว์นั้นๆ


การทำเทคนิคพิเศษ ปัจจุบันการทำเทคนิคพิเศษได้พัฒนาเป็นงาน 3D Animation ที่สมจริงและง่ายต่อการทำ จึงนิยมเอางาน ดังกล่าวมาประมวลผลออกมาเป็น 2D ได้เลย ทำไห้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาอย่างมาก แต่เราก็ต้องควรรู้และศึกษาการทำเทคนิคนี้ เพราะเป็นงานที่บอกถึงอารมณ์ล้วนๆวาดจากความรู้สึกที่อยากให้มันเป็น มันเคลื่อนไหว เหมือนงานจิตกรที่เล่าเรื่องได้ออกมาอย่างวิเศษ การทำ 3D อาจเหมือนจริงแต่ไม่มีความเป็นงานศิลปะเหมือนงานวาดด้วยมือ



แบบฝึกหัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น