วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การสร้างการ์ตูนด้วย Flash



โปรแกรมที่ใช้สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น Macromedia Fash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, กราฟิกสำหรับงานเว็บ ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Macromedia เจ้าแห่งผลิตภัรมได้พัฒนาจนถึง Version MX2004 ผลงานที่พัฒนาด้วยโปรแกรม Flash มีทั้งสื่อภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวสื่อมัลติมีเดีย ตลอดจนถึงสื่อที่มีระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive Multimedia) ซึ่งเป็นสื่อที่เล็ก โหลดผ่านเว็บเบราเซอร์ได้รวดเร็ว มีความคมชัดสูงแม้ว่าจะถูกขยายขนาด ทั้งนี้สามารถนำเสนอได้ทั้งบนเว็บ หรือผ่านโปรแกรม Flash Playerหรือสร้างเป็น .exe file เพื่อเรียกใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่นได้ด้วย เช่นAnimation GIF AVI Quick Time ปัจจุบัน Macromedia Fash ได้เปลี่ยนมาเป็นของค่าย Adobe ล่าสุด (พฤษภาคม 2552) เป็น AdobeFlash CS4 ได้เพิ่มฟังก์ชั่นต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สร้างงานด้านงานกราฟิก ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว


สร้างภาพเคลื่อนไหวในโปรแกรม Flash สร้างได้ 2 แบบคือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame และภาพเคลื่อน


การเคลื่อนไหวแบบต่างในโปรแกรม FlashการไหวแบบTween

1. ภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame คือการกำหนดการเปลี่ยนแปลงของอ็อบเ็จ็กต์ที่แตกต่างกันในทุกๆคีย์เฟรมเหมาะสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อนมากๆ แต่ข้อเสียของการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม คือไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ Tween การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame จะต้องมีการกำหนดการเคลื่อนไหวให้แต่ละเฟรม ซึ่งวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะต้องใช้เวลาในการสร้างการเคลื่อนไหวนาน และไฟล์ก็จะมีขนาดใหญ่ด้วย แต่ในบา่งกรณีก็จำเป็นต้องใช้วิํธีนี้เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ีมีรายละเอียดมากๆ


ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Fram

2. ภาพเคลื่อนไหวแบบTween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวจากเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสุดท้าย ซึ่งโปรแกรมจะสร้างการ เปลี่ยนแปลงระหว่างเฟรมให้โดยอัตโนมัติ นั่นคือการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Tween จะมีการสร้างเฟรมเพียง 2 เฟรม คือเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสุดท้าย ซึ่งคุณสมบัตินี้เองที่ทำให้การสร้างภาพ เคลื่อนไหวแบบ Tween มีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่าการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame การสร้างภาพแบบ Tween มี 2 ชนิดคือ

2.1 Motion Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีการกำหนดการเคลื่อนที่ หมุน ย่อ หรือขยายไห้อ็อบเจ็กต์ เป็นรูปแบบการสร้างภาพเคลื่อนไหวทีีใช้มากที่สุด และโปรแกรมจะกำหนดรูปแบบชนิดนี้เป็นค่าเริ่มต้นของการสร้างภาพเคลื่อนไหวทุกครั้ง โดยโปรแกรมจะสร้างภาพเคลื่อนไหวและเส้นทางการเคลื่อนไหวให้เองโดยอัตโนมัติดังรูป

2.2 Shape Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของอ็อบเจ็กต์ จากรูปทรงหนึ่งไปเป็นอีกรูปทรงหนึ่งโดยสามารถกำหนด ทิศทาง ตำแหน่ง ขนาด และสีของการเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ อ็อบเจ็กต์ที่สามารถนำมาสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween ได้ต้องเปนรูปทรงธรรมดา เช่นรูปทรงที่ผู้ใช้วาดขึ้นมาเอง แต่ถ้าผู้ใช้ต้องการนำอ็อบเจ็กต์ดังกล่าวมาใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween จะต้องเปลี่ยนให้กลายเป็นรูปทรงธรรมดาก่อน โดยใช้คำสั่ง Break apart





3. เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วยการประยุกต์การใช้งานสร้างภาพเคลื่อนไหว เช่น การนำภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion และShape Hite การใช้เทคนิคMask Layer และ Motion Guide เป็นต้น

3.1 การนำภาพเคลื่อนไหวชนิด Motion และ Shape Tween มารวมกัน
ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween

3.2 การใช้เทคนิค Mask Layer การสร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพเลื่อนไหว หรือภาพนิ่งที่เรียกว่า "Mask" หรือการทำหน้ากาก จะเหมือนกับมีหน้ากากเป็นตัวบังอ็อบเจ็กต์ที่อยู่ในเลเยอร์ด้านหลัง โดยมีช่องบนหน้ากากเป็นตัวแสดงเนื้อหาเฉพาะส่วนของอ็อบเจ็กต์หรือมีลักษณะคล้ายกับการส่องไฟฉายไปยังบริเวณที่มืด ซึ่งจะปรากฎภาพเฉพาะส่วนที่ไฟส่องสว่างเท่านั้นเลเยอร์ที่อยู่ต่ำกว่าจะถูกบังโดยเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่า
ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Mask Layer
3.3 การใช้เทคนิค Motion Guide เข้ามาช่วยกำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่ของอ็อบเจ็กต์ด้วยตัวเอง โดยสร้างเส้นไกด์หรือเส้นนำทางไว้ที่ Guide Layer ซึ่งจะอยู่ด้านบนของเลเยอร์อ็อบเจ็กต์ที่ต้องการให้เคลื่อนที่ไปตามเส้นไกด์นั้นๆ

ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Guide
3.4 เทคนิคการใช้สีกับภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดลักษณะของการเคลื่อนไหวในแบบต่างๆได้ เช่น ทำให้ภาพค่อยๆเลือนหายไปเปลี่ยนสีของภาพโดยการกำหนดความแตกต่างของสีที่จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเคลื่อนไหว

ตัวอย่างการใช้สีกับเคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น